ระบบ New e-Filing
ระบบยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์ระบบใหม่ หรือ New e-Filing เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป
|
ระบบ e-Filing เดิม ใช้ได้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 และเริ่มใช้ New e-Filing ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2564
|
ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2564 พร้อมให้บริการ New e-Filing ทุกประเภทแบบ ยกเว้นแบบ ภ.ง.ด.93 และแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และแบบภาษีการรับมรดก
|
โปรแกรม RD Prep
โปรแกรม RD Prep คือโปรแกรมจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการยื่นแบบด้วยวิธีการบันทึกหรือวิธีการโอนย้ายข้อมูลใบแนบแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีมีไฟล์ข้อมูลที่จัดเตรียมจากโปรแกรมอื่นๆ ที่นามสกุล.txt หรือนามสกุล .csv ผู้เสียภาษีสามารถนำมาเตรียมเพื่อการยื่นแบบด้วยวิธีการโอนย้าย ด้วยโปรแกรม RD Prep ได้
|
เป็นการเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลที่บันทึกไว้ผ่านโปรแกรม RD Prep เพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นเข้าถึงข้อมูลได้ ซึ่งโปรแกรมไม่ได้บังคับให้ตั้งค่ารหัส PIN
|
ปัญหาจาก Security Check Certificate ของไฟล์ ต้องให้ทาง IT ของบริษัทนั้นปลดโปรแกรม RD Prep จาก list Unknown Publisher
|
หากระบบปฏิบัติการ (OS)เป็น Windows 7 Ultimate จะพบปัญหาหน้าจอขาวไม่ สามารถใช้งานได้ หากเป็น Windows 7 Enterprise จะสามารถใช้งานได้
|
ขึ้นอยู่กับค่ายของ Firewall ที่แจ้งเตือน ให้ผู้เสียภาษีเลือก อนุญาต ให้ติดตั้งโปรแกรม
|
ไม่จำเป็น ผู้เสียภาษีสามารถยื่นแบบออนไลน์ ที่ระบบ New e-Filing ได้ ทั้งนี้โปรแกรม RD Prep เหมาะสำหรับกรณีที่ แบบ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด. 2 ภ.ง.ด.3 ภ.ง.ด.53 มีจำนวนรายการผู้มีเงินได้จำนวนมาก หรือ ภ.พ.30 ภ.ธ.40 ที่มีสาขาจำนวนมาก
|
ผู้เสียภาษีสามารถเรียกดูไฟล์ข้อมูลของเดือนก่อนมาแก้ไขและใช้ในเดือนถัดไปได้
โดยไม่ต้องบันทึกข้อมูลใหม่ โดยการเลือกขั้นตอน ดังนี้
1) เลือกบันทึกข้อมูลแบบ เลือกแบบที่ต้องการ จะปรากฏข้อมูลที่เคยบันทึกไว้กดปุ่มคัดลอก 2) เลือกเดือน/ปีภาษีปัจจุบัน และวันเดือนปีที่จ่ายเงินได้ กดตกลง 3) โปรแกรมจะแสดงรายการของเดือน/ปีภาษีปัจจุบันขึ้นมาให้ 4) ทำการแก้ไข หรือ เพิ่ม รายการตามความต้องการ และตรวจสอบความถูกต้องก่อนกดบันทึกและสร้างไฟล์ข้อมูล 5) โปรแกรมจะจัดเก็บไฟล์เป็นนามสกุล .rdx เลือกที่จัดเก็บไฟล์และห้ามเปลี่ยนชื่อไฟล์ เพื่อนำไปยื่นในระบบ New e-Filing |
เมื่อผู้เสียภาษีทำการแปลงไฟล์ข้อมูล หรือบันทึกข้อมูล และได้ไฟล์นามสกุล .rdx เรียบร้อยแล้ว ให้ผู้เสียภาษีเข้าสู่ระบบยื่นแบบออนไลน์ด้วยหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่าน แล้วเลือก เมนูยื่นแบบ เลือก upload ไฟล์ข้อมูลแบบ
|
แนะนำให้ copy ไฟล์มาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรม RD Prep เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลในเครื่อง Server
|
ไฟล์นามสกุลที่โปรแกรม RD Prep รองรับสำหรับการโอนย้ายข้อมูลคือ .txt และ .csv
|
ระบบ New e-Filing รองรับไฟล์ที่ใช้ในการ upload เพื่อยื่นแบบออนไลน์ 2 นามสกุลเท่านั้นคือ
1) นามสกุล .rdx ได้จากการบันทึกหรือโอนย้ายข้อมูลด้วยโปรแกรม RD Prep 2) นามสกุล .xml ได้จากโปรแกรมทำบัญชีทั่วไปซึ่งสามารถพัฒนาโปรแกรมให้สามารถ export ไฟล์ได้ตามข้อกำหนดทางเทคนิคที่กรมสรรพากรประกาศ (ขณะนี้ยังไม่ได้ประกาศ) ** ไฟล์ .txt จะไม่สามารถนำมา upload ได้ |
ถ้าหากกดพิมพ์แบบจากโปรแกรม RD Prep จะยังไม่ปรากฏข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ ของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย แต่เมื่อนำไฟล์ .rdx ไป upload เพื่อยื่นแบบบนออนไลน์ เมื่อกดพิมพ์แบบจากระบบ New e-Filing จะปรากฏข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ ของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
|
หากผู้เสียภาษีพบปัญหาในการติดตั้งโปรแกรม RD Prep ขึ้นหน้าจอขาว บนเครื่องที่ระบบปฏิบัติการเป็น Windows 7 Service Pack 1 แนะนำให้ติดตั้งโปรแกรม RD Prep บนเครื่องที่มีระบบปฏิบัติการ (OS) เป็นWindows 7 Service Pack สูงกว่า Service Pack 1
|
โปรแกรม RD Prep V 1.2.3 เป็นต้นไป แต่หากมีการปรับปรุงโปรแกรม RD Prep แนะนำให้อัปเดตให้เป็นปัจจุบันด้วย โดยโปรแกรมเปิดบริการให้ผู้เสียภาษีสามารถจัดเตรียมไฟล์ข้อมูลแบบ ภ.พ.30 ด้วยวิธีการบันทึกหรือโอนย้ายข้อมูลได้ หรือผู้เสียภาษีจะเลือกยื่นแบบ ภ.พ.30 ด้วยวิธีการบันทึกข้อมูลผ่านระบบ New e-Filing ออนไลน์ก็ได้เช่นกัน
|
จะมี Pop Up แจ้งเตือนให้อัปเดตตอนเปิดโปรแกรม RD Prep ในขณะที่คอมพิวเตอร์นั้น Online อยู่
โดยโปรแกรมจะตรวจสอบการอัปเดตอัตโนมัติเมื่อมีการปรับปรุงเวอร์ชั่นของโปรแกรม |
ให้ทำการเปิดไฟล์ข้อมูล และ Save as เป็น Encoding : UTF-8 แล้วจึงทำการโอนย้าย
|
สมัครใช้บริการ
ขั้นตอนการลงทะเบียนใช้งานระบบ New e-Filing ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > สมัครสมาชิก มีขั้นตอนดังนี้
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1) ระบุเลขประจำตัวประชาชน/เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เลือก Captcha (ฉันไม่ใช่โปรแกรมอัตโนมัติ) 2) เลือก ประสงค์ลงทะเบียนเพื่อ “ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” ระบุ ข้อมูลผู้เสียภาษี 3) ระบุ ยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP (One Time Password) ทางหมายเลขโทรศัพท์หรืออีเมล 4) กำหนดรหัสผ่าน/ยืนยันรหัสผ่าน เลือกคำถาม/คำตอบ จำนวน 3 ข้อ เพื่อใช้ในกรณีที่ลืมรหัสผ่าน 5) อ่านและยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไข/ยืนยันการลงทะเบียน 6) เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้ตั้งไว้ *หมายเหตุ ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นการลงทะเบียนเพื่อขอยื่นแบบภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาประกอบด้วย ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 ภ.ง.ด.94 ภ.ง.ด.95 และแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน (อ.ส.9) เมื่อผู้เสียภาษีลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์สำเร็จ สามารถใช้ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) เข้าใช้งานระบบได้ทันที โดยไม่ต้องยื่นเอกสาร ยื่นแบบภาษีอื่น ๆ จากการประกอบกิจการ 1) ระบุเลขประจำตัวประชาชน/เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เลือก Captcha (ฉันไม่ใช่โปรแกรมอัตโนมัติ) 2) เลือก ประสงค์ลงทะเบียนเพื่อ “ยื่นแบบภาษีอื่น ๆ จากการประกอบกิจการ” ตรวจสอบข้อมูลผู้เสียภาษี และระบุอีเมล 3) ระบุ ยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP (One Time Password) ทางอีเมล อ่านและยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไข/ยืนยันการลงทะเบียน 4) ยื่นเอกสารยืนยันตัวตนได้ 3 ช่องทาง โดยยื่นภายใน 30 วันหลังลงทะเบียนบนเว็บไซต์ (1) สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือ ห้องบริการข้อมูลข่าวสารกองบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ณ อาคารจอดรถและสวัสดิการกรมสรรพากร ชั้น 1 ใกล้กับ 7-Eleven (2) นำส่งเอกสารทางอีเมล โดยการสแกนเอกสารรูปแบบไฟล์ PDF ส่งทางอีเมล และต้องใช้อีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้ แล้วส่งถึงหน่วยงาน ......@rd.go.th (ตามที่ระบุในอีเมล) (3) อัปโหลดเอกสารที่ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) 5) ตรวจสอบผลการยื่นคำขอได้บนเว็บไซต์ และแจ้งผลการอนุมัติทางอีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้ 6) ได้รับแจ้งผลการอนุมัติและชื่อผู้ใช้งาน (Username) ทางอีเมล พร้อมลิงก์สำหรับตั้งรหัสผ่าน (Password) เพื่อเข้าใช้งานระบบ *หมายเหตุ ยื่นแบบภาษีอื่น ๆ จากการประกอบกิจการ เป็นการลงทะเบียนเพื่อขอยื่นแบบภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา ภาษีหัก ณ ที่จ่าย รวมถึงแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน และหากผู้เสียภาษีเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มหรือธุรกิจเฉพาะ จะได้รับสิทธิ์ในการยื่นแบบภาษีนั้น ๆ โดยอัตโนมัติโดยผู้เสียภาษีต้องยื่นเอกสารในการยืนยันตัวตนต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขออนุมัติการลงทะเบียนก่อน |
ขั้นตอนการลงทะเบียนใช้งานระบบ New e-Filing ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรwww.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > สมัครสมาชิก มีขั้นตอนดังนี้
1) ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษี เลือก Captcha (ฉันไม่ใช่โปรแกรมอัตโนมัติ) 2) เลือก ประสงค์ลงทะเบียน เพื่อลงทะเบียน “ในระดับผู้ประกอบการ (รวมทุกสาขา)” หรือ ลงทะเบียน “ในระดับสาขา (เฉพาะสาขา)” 2.1) ลงทะเบียนในระดับผู้ประกอบการ สำหรับผู้ประกอบการที่สำนักงานใหญ่ประสงค์เป็นผู้สมัครลงทะเบียนและยื่นเอกสารแสดงตัวตนเพียงครั้งเดียว เมื่อได้รับอนุมัติสิทธิ์แล้ว สามารถสร้างและกำหนดสิทธิ์ให้ผู้ดูแลสาขา (Admin) เป็นผู้ยื่นรายการภาษีของสาขาต่าง ๆ ตามสิทธิ์ที่ได้รับ รวมถึงการสร้างและกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งาน (User) ได้ด้วย โดยสาขาไม่ต้องสมัครลงทะเบียนและยื่นเอกสารแสดงตัวตน 2.2) ลงทะเบียนในระดับสาขา สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการแยกสิทธิ์การใช้งานเป็นรายสาขา สามารถสมัครลงทะเบียนและยื่นเอกสารแสดงตัวตนเฉพาะของสาขาแต่ละสาขา หลังจากนั้น เลือก ตรวจสอบข้อมูลผู้เสียภาษี และระบุอีเมล 3) ระบุ ยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP (One Time Password) ทางอีเมล อ่านและยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไข/ยืนยันการลงทะเบียน ต้องนำส่งเอกสารและมีช่องทางการส่งเอกสาร ดังนี้ 3.1) เอกสาร ภ.อ.01 และข้อตกลงในการใช้งานระบบที่ได้รับจากอีเมล พร้อมลงลายมือชื่อ 3.2) บัตรประจำตัวประชาชน/ใบสำคัญคนต่างด้าว/หนังสือเดินทาง หรือสำเนาพร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง หากมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทน ต้องจัดทำหนังสือมอบอำนาจ (ปิดอากรแสตมป์ 10 บาท) และแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ใบสำคัญคนต่างด้าว/หนังสือเดินทาง ของผู้มอบอำนาจ และบัตรประจำตัวประชาชน/ใบสำคัญคนต่างด้าว/หนังสือเดินทาง ของผู้รับมอบอำนาจ หรือสำเนาพร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง สามารถยื่นเอกสารยืนยันตัวตนภายใน 30 วัน หลังลงทะเบียนบนเว็บไซต์ ได้ 3 ช่องทาง คือ (1) นำส่งด้วยตนเอง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือ ห้องบริการข้อมูลข่าวสารกองบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ณ อาคารจอดรถและสวัสดิการกรมสรรพากร ชั้น 1 ใกล้กับ 7-Eleven (2) นำส่งเอกสารทางอีเมล โดยการสแกนเอกสารรูปแบบไฟล์ PDF ส่งทางอีเมล และต้องใช้อีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้ แล้วส่งถึงหน่วยงาน ......@rd.go.th (ตามที่ระบุในอีเมล) (3) นำส่งเอกสารด้วยการอัปโหลดไฟล์เอกสาร ภ.อ.01 และข้อตกลงการใช้งานระบบที่ได้รับจากอีเมลเท่านั้น พร้อมลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ซึ่งได้จากหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลดเอกสารได้ที่อีเมลที่ได้รับ โดยกดลิงก์ “อัปโหลดไฟล์ที่นี่” หลังจากนำส่งเอกสารแล้ว ตรวจสอบผลการยื่นคำขอได้จากอีเมล หรือเมนูสมัครสมาชิก เลือก ตรวจสอบผลการยื่นคำขอ เมื่อได้รับอนุมัติเรียบร้อยแล้ว ระบบจะส่งอีเมลพร้อมกับชื่อผู้ใช้งาน (Username) และลิงก์เพื่อกำหนดรหัสผ่าน *หมายเหตุ 1. กรณีไม่ได้นำส่งเอกสารภายใน 30 วัน จะไม่สามารถใช้งานคำขอได้ ต้องดำเนินการยื่นคำขอใหม่ 2. กรณีนำส่งเอกสารทางอีเมล จะใช้บริการได้เฉพาะการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ไม่สามารถใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ของกรมสรรพากรได้ |
การลงลายมือชื่อผ่านใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ต้องใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ที่ออกจาก ผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority : CA) ที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งอยู่ภายใต้การรับรองของผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (Thailand National Root Certification Authority : Thailand NRCA) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปัจจุบันมี 2 บริษัท คือ
1) บริษัท ไทยดิจิทัล ไอดี จำกัด โทร. 02-029-0290 กด 4 2) บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-257-7111 |
กรณีได้รับอนุมัติการลงทะเบียนแล้ว ระบบจะส่งลิงก์ให้ตั้งรหัสผ่านทางอีเมล กรณีไม่พบลิงก์ จากระบบในกล่องข้อความ ให้ลองตรวจสอบที่เมนูถังขยะ (Junk Mail) หากตรวจสอบแล้วไม่พบข้อมูล สามารถขอรับอีเมล แจ้งผลใหม่ได้ โดยเข้าที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > สมัครสมาชิก >ตรวจสอบผลการยื่นคำขอ > ระบุหมายเลขอ้างอิงการยื่นคำขอ หรือ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร > กดปุ่ม ขอรับอีเมลแจ้งผล ระบบจะส่งอีเมลให้ตั้งรหัสผ่านใหม่ทันที
|
ให้สมัครใช้บริการ โดยในขั้นตอนความประสงค์ในการลงทะเบียน ให้เลือก “ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” และเมื่อลงทะเบียนสำเร็จ ผู้เสียภาษีจะสามารถเข้าใช้งานระบบด้วย Username และ Password ที่ตั้งขึ้นได้ทันที
|
ให้สมัครใช้บริการ โดยในขั้นตอนความประสงค์ในการลงทะเบียน ให้เลือก “ยื่นแบบภาษีอื่น ๆ จากการประกอบกิจการ” เมื่อสมัครผ่านระบบเรียบร้อยให้ยื่นเอกสาร ภ.อ.01 พร้อมเอกสารแนบเพื่อยืนยันตัวตนต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อขออนุมัติการลงทะเบียน เมื่อเจ้าหน้าที่อนุมัติแล้วก็สามารถเข้าสู่ระบบเพื่อยื่นแบบ ภ.พ.30 ผ่านอินเทอร์เน็ตในระบบ e-Filing ได้
|
การยืนยันตัวตนผ่าน NDID
NDID หรือระบบ National Digital ID (www.ndid.co.th) คือ โครงสร้างพื้นฐานในการพิสูจน์ และยืนยันตัวตน
ทางดิจิทัลของประเทศไทยเชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อยกระดับกระบวนการทำธุรกรรม
ทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีมาตรฐานและมีความน่าเชื่อถือ สร้างความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการ
โดยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนใช้ระบบ Blockchain โดยมีธนาคารพาณิชย์ เป็นผู้ให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตน
ผ่านโมบายแอปพลิเคชันของธนาคาร
|
||||||
ผู้ใช้บริการต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารที่ท่านเลือก 2. เคยใช้บัตรประชาชนผ่านเครื่องอ่านบัตรของธนาคารที่ท่านเลือกแล้ว (ที่สาขาหรือตู้ ATM โปรดตรวจสอบกับธนาคารที่ท่านเลือก) 3. มีโมบายแอปพลิเคชันของธนาคารที่ท่านเลือก และพร้อมใช้งาน 4. เคยถ่ายรูปแบบเปรียบเทียบใบหน้าบนโมบายแอปพลิเคชัน หรือเคยถ่ายรูปที่สาขา หรือตู้ ATM ของธนาคารที่เลือก (โปรดตรวจสอบกับธนาคารที่ท่านเลือก) หลังจากท่านใส่หมายเลขบัตรประชาชนและยอมรับเงื่อนไขการใช้บริการแล้ว ระบบจะแสดงรายชื่อธนาคาร ที่ท่านได้เคยลงทะเบียน โดยท่านสามารถเลือกใช้บริการยืนยันตัวตนได้ทันที หากท่านยังไม่เคยลงทะเบียน ระบบจะแสดงรายชื่อธนาคารที่สามารถนำท่านเข้าสู่ขั้นตอนการลงทะเบียนตามเงื่อนไขการใช้บริการของแต่ละธนาคารก่อน และทำการยืนยันตัวตนตามขั้นตอนในลำดับถัดมากรมสรรพากรได้เพิ่มการยืนยันตัวตนทางดิจิทัลผ่าน NDID เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการยืนยันตัวตน เพื่อทำธุรกรรมออนไลน์บนเวปไซต์กรมสรรพากร ในบริการ e-Filing |
||||||
1. เป็น “ทางเลือก” ให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลา
2. ยกระดับการทำธุรกรรมออนไลน์ให้มีความน่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยสูงขึ้น 3. สร้างความมั่นใจว่าผู้ใช้บริการธุรกรรมออนไลน์บนเวปไซต์กรมสรรพากรเป็นบุคคลนั้น ๆ ผ่านการยืนยันตัวตนทางดิจิทัลจากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนดิจิทัล บน Platform NDID 4. ผู้ใช้บริการสามารถต่อยอดการยืนยันตัวตนไปถึงการใช้บริการอื่น ๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคต |
||||||
NDID เป็น Platform กลางที่เชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เมื่อผู้ใช้บริการ
ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลให้ความยินยอม (Consent) โดยจะไม่มีการเก็บข้อมูลของใช้บริการไว้ที่ Platform NDID แต่ข้อมูล
จะเก็บแบบกระจายศูนย์ภายใต้ธนาคารที่ให้บริการ
|
||||||
1. ธนาคารให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคล โดยการเก็บรวบรวมการใช้ และการเปิดเผยข้อมูลจะต้องได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากผู้ใช้บริการและเป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
2. ธนาคารมีมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่แน่นหนารัดกุม และจำกัดการเข้าถึงเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูลเท่านั้น |
||||||
ปัจจุบัน (พ.ย.66) มีธนาคารให้บริการจำนวน 10 ธนาคาร ดังนี้ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์
|
||||||
ระบบจะแสดงรายชื่อธนาคารที่ผู้ใช้บริการได้ลงทะเบียน NDID ไว้แล้ว และสามารถใช้บริการยืนยันตัวตนได้ทันที แต่หากยังไม่มีการลงทะเบียน ระบบจะแสดงรายชื่อธนาคารที่ต้องไปทำการลงทะเบียนตามเงื่อนไขและขั้นตอนของ
แต่ละธนาคารก่อน
|
||||||
ผู้ใช้บริการธุรกรรมออนไลน์ผ่านเวปไซต์กรมสรรพากรไม่มีค่าใช้จ่ายในการยืนยันตัวตนผ่านแพลตฟอร์ม NDID
|
||||||
1. ผู้ใช้บริการสามารถลงทะเบียนได้ที่แอปพลิเคชันของธนาคาร หรือสาขา หรือช่องทางอื่นๆ ตามที่ธนาคารกำหนด
2. ผู้ใช้บริการต้องผ่านการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ด้วยการตรวจสอบสถานะบัตรประชาชนกับกรมการปกครองแบบออนไลน์ (ThaiID) หรือตรวจสอบสถานะหนังสือเดินทางกับกรมการกงสุล พร้อมทั้งถ่ายภาพ และยืนยันตัวตนด้วยเทคโนโลยีจดจำใบหน้า (Facial Recognition) กับธนาคารแล้ว |
||||||
สามารถติดต่อกับธนาคารที่ใช้บริการให้ดำเนินการยกเลิกการใช้บริการยืนยันตัวตนได้ตามต้องการ
ธนาคารที่ให้บริการ NDID
|
เข้าสู่ระบบ
ยกเลิกบัญชีผู้ใช้งานเดิม โดยแจ้งทางอีเมล : efilinghelpdesk@rd.go.th และระบุ
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ชื่อสถานประกอบการ สาขามูลค่าเพิ่มหรือสาขาธุรกิจเฉพาะพร้อมชื่อและเบอร์ติดต่อกลับ พร้อมนำส่งเอกสารของผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองด้วยเมื่อระบบยกเลิกแล้วให้สมัครและนำส่งเอกสารใหม่
|
เมื่อได้สร้างชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านใหม่เรียบร้อยแล้ว ชื่อผู้ใช้งานนั้น จะเป็นผู้ใช้งานในระดับ Super Admin ที่สามารถสร้าง Admin และ User ได้
|
หากเป็นบุคคลธรรมดาจด VAT และยังไม่ได้เลือก “ประสงค์จะยื่นแบบภาษีอื่น ๆ จากการประกอบกิจการ” ให้เข้าสู่ระบบ จากนั้นขอเพิ่มสิทธิ์การใช้บริการในโปรไฟล์ สร้างคำขอ ระบบจะส่งอีเมลยืนยันการสร้างคำขอพร้อมเอกสารแนบให้ โดยผู้เสียภาษีต้องยื่นเอกสารยืนยันตัวตนเพื่อขออนุมัติการเพิ่มสิทธิ์ดังกล่าว
|
กรณีผู้เสียภาษีเป็นบุคคล
- ชื่อผู้ใช้งาน เป็นเลข 13 หลัก (บัตรประจำตัวประชาชน/เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร) - รหัสผ่านผู้เสียภาษีกำหนดเอง กรณีผู้เสียภาษีเป็นนิติบุคคลและเป็นสำนักงานใหญ่ - ชื่อผู้ใช้งาน เป็นเลขทะเบียนนิติบุคคล (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) หรือ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (กรมสรรพากร) - รหัสผ่านผู้เสียภาษีกำหนดเอง กรณีผู้เสียภาษีเป็นนิติบุคคลและเป็นสำนักงานสาขา (จด VAT/SBT) - ชื่อผู้ใช้งาน เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก + ประเภทสาขา (VAT/SBT) + เลขที่สาขา (5 หลัก) ประเภทสาขา (VAT/SBT) 1 = ลงทะเบียนด้วยสาขา VAT 2 = ลงทะเบียนด้วยสาขา SBT 3 = ลงทะเบียนด้วยสาขา VAT และ SBT ตัวอย่างระบบปัจจุบันลงทะเบียนด้วย VAT สาขา 1 ชื่อผู้ใช้งานใหม่ เป็น 0xxxx28000127100001 - รหัสผ่านผู้เสียภาษีกำหนดเอง โดยการตั้งรหัสผ่านต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้ 1) รหัสผ่านต้องมีความยาวอย่างน้อย 8 ตัวอักษรและไม่เกิน 16 ตัวอักษร 2) รหัสผ่านต้องใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ (a-z,A-Z) และ ตัวเลข (0-9) 3) รหัสผ่านต้องมีตัวเลข (0-9) อย่างน้อย 1 ตัวอักษร 4) รหัสผ่านต้องมีตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่ (A-Z) อย่างน้อย 1 ตัวอักษรและมีตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์เล็ก (a-z) อย่างน้อย 1 ตัวอักษร 5) ต้องไม่ใช้คำว่า “password” 6) ต้องไม่เหมือนหรือคล้ายกับชื่อผู้ใช้งาน |
จัดการบัญชีสมาชิก และสิทธิ
หน้า Login ให้เลือก “ลืมรหัสผ่าน”
 1) ระบุเลขประจำตัวประชาชน/เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร  2) เลือก “ฉันไม่ใช่โปรแกรมอัตโนมัติ” และระบุข้อมูลผู้เสียภาษีให้ครบถ้วน (กรณีเป็นผู้ประกอบการที่จดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะ) จากนั้นในหน้าจอยืนยันตัวตนด้วยอีเมล  3) คลิก “เลือกเส้นทางอื่น”  4) ระบุอีเมลใหม่ ระบบจะส่งหมายเลข OTP ไปยังอีเมลที่ท่านระบุไว้ ให้กรอกเลข OTP ที่ได้รับ จากนั้นระบบจะให้ยืนยันความประสงค์ขอแจ้งเปลี่ยนรหัสผ่านพร้อมเปลี่ยนอีเมล เมื่อยื่นคำขอในระบบสำเร็จ ให้ท่านยื่นเอกสารยืนยันตัวตนผ่าน 3 ช่องทาง คือ 1) นำส่งเอกสารด้วยตนเอง ในเวลาราชการ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ ห้องบริการข้อมูลข่าวสารกองบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมสรรพากร 2) นำส่งเอกสารทางอีเมล โดยสแกนเอกสารรูปแบบไฟล์ PDF ส่งทางอีเมล โดยใช้อีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้ ส่งถึง ......@rd.go.th (ตามที่ระบุในอีเมล) 3) อัปโหลดไฟล์เอกสารผ่านเว็บไซต์ กรณีลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ด้วยใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ที่ออกจากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority : CA) ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลดเอกสารได้ที่อีเมลที่ได้รับ โดยกดลิงก์ “อัปโหลดไฟล์ที่นี่” |
1) หากลงทะเบียนในระดับผู้ประกอบการ ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านของผู้ประกอบการ (Super Admin) สามารถใช้ยื่นแบบของทุกสาขาได้ แต่หากต้องการให้แต่ละสาขายื่นแบบด้วยตนเอง ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านของผู้ประกอบการสามารถสร้างและกำหนดสิทธิ์ให้ผู้ดูแลสาขา (Admin) เป็นผู้ยื่นแบบของสาขาต่าง ๆ ตามสิทธิ์ที่ได้รับ รวมถึงการสร้างและกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งาน (User) ทุกสาขาได้
2) หากลงทะเบียนในระดับสาขา จะได้รับชื่อผู้ใช้งานและกำหนดรหัสผ่านเพื่อยื่นแบบของแต่ละสาขา |
ฟังก์ชันการจัดการสิทธิ์ เป็นการสร้างบัญชีผู้ใช้ให้สามารถระบุ ผู้ใช้งานในระดับต่าง ๆ (Admin, User) โดยแบ่งประเภทบัญชีผู้ใช้งานออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.ผู้ประกอบการ (Super Admin) 2.ผู้ดูแล 3.ผู้ใช้งาน ทั้งนี้ผู้ใช้งานระดับผู้ประกอบการ (Super Admin) สามารถจัดการผู้ใช้งาน และจัดการสิทธิ์การยื่นแบบฯ ให้กับผู้ใช้งานภายใต้บัญชีหลักได้ |
ฟังก์ชันการจัดการสิทธิ์ ไม่ได้เป็น ฟังก์ชันการยื่นกระทำการแทน
|
หมายเลขผู้ใช้19หลัก (กรณีสาขาแยกยื่น) ก็ถือเป็น Super Admin สามารถจัดการสิทธิ์ได้เหมือนกัน
|
ไม่เห็น เว้นแต่ในกรณีที่ได้รับสิทธิ์ให้ยื่นแบบประเภทเดียวกัน และสาขาเดียวกัน Admin จะเห็นแบบที่ตัวเองได้รับมอบหมายทั้งหมด ไม่ว่าผู้ใดเป็นคนบันทึก ยกเว้น Super admin เป็นผู้บันทึก Admin ไม่มีสิทธิ์เห็น
|
หากยืนยันการยื่นแบบแล้ว Super Admin กับ Admin สามารถเข้าไปที่ตรวจสอบผลการยื่นแบบ และสามารถพิมพ์แบบ/พิมพ์ใบแนบได้ แต่เมื่อได้ชำระภาษีเรียบร้อยแล้ว จะสามารถพิมพ์แบบ/ใบเสร็จรับเงินได้เท่านั้น ไม่สามารถพิมพ์ใบแนบได้
|
ไม่จำเป็น เพราะผู้เสียภาษีที่ใช้งานผ่านระบบ Tax SSO สามารถสร้างผู้ดูแล (Admin) และผู้ใช้งาน (User) ได้ที่ระบบ Tax SSO เช่นเดียวกัน เพียงแต่การจัดการสิทธิ์การยื่นแบบ จะมาดำเนินการอยู่ที่หน้าจอของระบบ New e-Filing
|
ยื่นแบบ
การยื่นแบบแสดงรายการผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถทำรายการและยืนยันการยื่นแบบได้ทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) ตามเวลา ดังนี้
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ยื่นได้ตลอด 24 ชั่วโมง - ภาษีประเภทอื่น ๆ ยื่นได้ภายในเวลา 06:00 - 22:00 น. สำหรับการชำระภาษีขึ้นอยู่กับหน่วยรับชำระภาษีที่เปิดให้บริการ โดยต้องชำระภาษีให้สำเร็จภายในช่วงเวลาที่หน่วยรับชำระภาษีให้บริการของวันนั้น ๆ |
กรณีเกินกำหนดเวลาการยื่นแบบ จะถือว่าไม่ได้ยื่นแบบฯ ต้องทำการยื่นแบบใหม่ เป็นแบบที่ยื่นเกินกำหนดเวลา โดยระบบจะคำนวณเงินเพิ่ม เบี้ยปรับ (ถ้ามี) และค่าปรับอาญาให้อัตโนมัติ
|
เมื่อยืนยันการยื่นแบบแล้ว โปรแกรมจะแสดงปุ่ม “พิมพ์แบบเพื่อตรวจสอบ” ขึ้นมาให้ที่หน้าสรุปการยื่นแบบ ก่อนที่จะทำการชำระเงิน ซึ่งจะสามารถพิมพ์ใบแนบที่ไม่มีลายน้ำได้ที่ปุ่มนี้เท่านั้น
|
1) กรณีมีภาษีต้องชำระ และชำระเรียบร้อยแล้วจะไม่สามารถยกเลิกแบบได้ แต่หากยังไม่ได้ชำระภาษี สามารถยกเลิกแบบได้ตลอดเวลา
2) กรณีไม่มีภาษีชำระหรือมีภาษีขอคืน สามารถยกเลิกแบบได้ก่อนปิดระบบสิ้นวัน (ก่อนเที่ยงคืน) โดยมีเงื่อนไขคือ ยังไม่ได้ดำเนินการดาวน์โหลด/พิมพ์ภาพแบบแสดงรายการและใบเสร็จรับเงิน |
ระบบจะคำนวณให้ใหม่ทั้งหมด
|
ยังค้างอยู่ในระบบ ที่เมนู “ตรวจสอบผลการยื่นแบบ” แต่แบบจะอยู่ในสถานะ “ยกเลิกแบบ (โดยผู้ใช้งาน)”
|
หากเป็นผู้ประกอบการ VAT วันที่ 16 มีนาคม 2566 จะต้องเริ่มยื่นแบบ ภ.พ.30 ตั้งแต่เดือนภาษีมีนาคม 2566 เป็นต้นไป ซึ่งการยื่นแบบ ภ.พ.30 ของเดือนภาษีมีนาคม 2566 จะสามารถยื่นแบบภายในกำหนดเวลาทางอินเทอร์เน็ตได้ตั้งแต่วันที่ 1 – 24 เมษายน 2566 (เนื่องจากวันที่ 23 เป็นวันอาทิตย์ จึงสามารถยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนดเวลาได้ในวันทำการถัดไป)
|
ระบบ New e-Filing จะระบุครั้งที่ยื่นแบบเพิ่มเติมให้อัตโนมัติ แต่ผู้เสียภาษีสามารถแก้ไขเลขครั้งที่ยื่นเพิ่มเติมได้โดยต้องไม่ซ้ำกับครั้งที่มีอยู่ในระบบ
|
ยังต้องกำหนดเป็นการยื่นปกติและยื่นเพิ่มเติม อย่างไรก็ดีในขั้นตอนของการ Upload ไฟล์ข้อมูลบนออนไลน์เพื่อยื่นแบบ ผู้ที่ทำไฟล์เป็นยื่นปกติจะต้องยื่นแบบก่อนเสมอ ส่วนผู้ที่ทำไฟล์เป็นยื่นเพิ่มเติมจะต้องยื่นแบบหลังจากมีการยื่นแบบฉบับปกติแล้ว แต่การยื่นแบบฉบับเพิ่มเติมนั้นไม่จำเป็นต้องตามลำดับ สามารถยื่นฉบับเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ก่อนฉบับเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ได้ ทั้งนี้วิธีการดังกล่าวใช้เฉพาะการยื่นแบบหัก ณ ที่จ่าย เท่านั้น (ไม่รวมแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ธุรกิจเฉพาะ และภาษีเงินได้)
|
สามารถพิมพ์ได้ทั้งใบหน้าและใบแนบ ดังนี้
- พิมพ์ใบหน้าได้หลังจากที่ชำระเงินเรียบร้อยแล้ว โดยพิมพ์ได้ที่เมนูตรวจสอบผลการยื่นแบบ - พิมพ์ใบแนบได้หลังจากยืนยันการยื่นแบบ เลือกพิมพ์แบบเพื่อตรวจสอบ และที่เมนูตรวจสอบผลการยื่นแบบ ก่อนการชำระเงินภาษี ข้อจำกัดของการพิมพ์ใบแนบกรณีมีใบแนบเกิน 100 หน้า ระบบจะ export ออกมาเป็นไฟล์ .csv แทน |
เมื่อ Login เข้าใช้งานระบบ New e-Filing ให้เข้าไปดูที่เมนู “ตรวจสอบผลการยื่นแบบ”
|
เสียภาษีสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเกินกำหนดเวลาผ่านอินเทอร์เน็ตได้ ดังนี้
- ยื่นแบบเกินกำหนดเวลาได้ทุกประเภท (ยกเว้น ภ.พ.30 ยื่นรวม กรณียื่นเพิ่มเติม และภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 ภ.ง.ด.94 ภ.ง.ด.95 ผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart Tax) - ยื่นแบบเกินกำหนดเวลาได้ สำหรับแบบฯ ที่มีหน้าที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 6 ต.ค. 2564 เป็นต้นไป (สำหรับ ภ.ง.ด.50 ภ.ง.ด.51 ภ.ง.ด.52 ภ.ง.ด.55 สามารถยื่นแบบเกินกำหนดเวลาของรอบบัญชีปี 2563 เป็นต้นไป) - คำนวณเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าปรับทางอาญาให้อัตโนมัติ เพิ่มความสะดวกในการยื่นแบบและชำระภาษี |
แก้ไขได้ ซึ่งระบบจะแจ้งเตือนว่า “การคำนวณภาษีขายไม่เท่ากับ 7% โปรดตรวจสอบ” และ/หรือ "การคำนวณภาษีซื้อไม่เท่ากับ 7% โปรดตรวจสอบ"
|
เนื่องจากผู้เสียภาษีอาจไปยื่นแบบ ภ.พ.30 เดือนภาษีสิงหาคม 2565 ด้วยกระดาษ ทำให้ระบบ New e-Filing ไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนดังกล่าวได้ หากผู้เสียภาษีกรอกยอดภาษีชำระเกินยกมาถูกต้องตรงตามที่เคยยื่นไว้แล้ว ให้เลือก “ใช่” เพื่อยืนยันได้เลย
|
ไม่สามารถทำได้ ต้องยื่นฉบับเพิ่มเติมเป็นขอคืนภาษีเป็นเงินสดหรือขอโอนเข้าบัญชีธนาคาร
|
กรณียื่นแบบ ภ.พ.30 รวมกัน ผู้เสียภาษีสามารถบันทึกใบแนบ ภ.พ.30 บนออนไลน์
หรือจะบันทึกข้อมูลใบแนบ ภ.พ.30 ผ่านโปรแกรม RD Prep แล้วนำไฟล์ .rdx upload ที่หน้ายื่นแบบออนไลน์ได้
|
การยื่นแบบ ภ.พ.30 กรณีได้รับการอนุมัติให้ยื่นรวมไม่สามารถยื่นแบบเพิ่มเติม ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ ไม่ว่าจะยื่นภายในกำหนดเวลาหรือเกินกำหนดเวลา
|
ในระบบ New e-Filing แบบฉบับปกติสามารถยื่นยอดขายและยอดซื้อติดลบได้
|
สามารถยื่นได้ สำหรับรายรับของกิจการที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ไม่ต้องจดทะเบียน เช่น นาย ก. มีรายได้จากดอกเบี้ยเงินกู้แต่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
|
เนื่องจากเงินภาษีที่ต้องชำระไม่ถึง 100 บาท ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตาม
มาตรา 91/17
|
การยื่นแบบฯ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.2 ภ.ง.ด.3 ภ.ง.ด.53 ภ.ง.ด.1ก
ภ.ง.ด.2ก ภ.ง.ด.3ก บนหน้าจอระบบ e-Filing ผู้ยื่นแบบฯ สามารถบันทึก และแก้ไขข้อมูลใบแนบ ได้สูงสุด 1,000 รายการ กรณีใบแนบมีมากกว่า 1,000 รายการ
ผู้ยื่นแบบฯ จะต้องทำการสร้างไฟล์ข้อมูล (.rdx) ด้วยวิธีการโอนย้ายข้อมูล
โดยโปรแกรมจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการยื่นแบบ (RD Prep) แล้วจึงนำไฟล์ข้อมูล (.rdx)
ที่ได้มาทำการอัปโหลด และยื่นแบบฯ บนระบบ e-Filing
|
กรอกจำนวนเงินเพิ่ม ให้ท่านคำนวณเงินเพิ่มและกรอกข้อมูลด้วยตนเอง หากไม่มีเงินเพิ่มให้เว้นว่างไว้
2) โปรแกรมจะเปิดช่องให้เลือกมาตราคำนวณเงินเพิ่มด้วยตนเอง 3) กรณีมีภาษีชำระเพิ่ม โปรแกรมจะเปิดช่องให้เลือก “ชำระเงินเพิ่มอย่างเดียว” หรือ “ชำระภาษีและเงินเพิ่ม” |
ต้องบันทึกข้อมูลผ่านออนไลน์ด้วยระบบ New e-Filing เท่านั้น
|
ปัจจุบันการยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบ New e-Filing ยังไม่รองรับกรณีกระทำการแทนผู้จ่ายเงินได้ ทั้งนี้ กรมสรรพากรอยู่ระหว่างพิจารณาปรับปรุงแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเพื่อรองรับกรณีผู้มีเงินได้พึงประเมินถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย สามารถนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แทนผู้จ่ายเงินได้ หากปรับปรุงแล้วเสร็จ กรมสรรพากรจะดำเนินการปรับปรุงระบบให้รองรับกรณีดังกล่าวเป็นลำดับถัดไป
|
ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสามารถเลือกจัดทำใบแนบได้ 2 ลักษณะ คือ
1) กรอกข้อมูลใบแนบบนออนไลน์ได้เลยซึ่งสามารถ save ข้อมูลเก็บไว้ได้หากกรอกข้อมูลไม่เสร็จ 2) ใช้โปรแกรม RD Prep ในการบันทึกหรือโอนย้ายข้อมูลซึ่งจะคล้ายโปรแกรมRdinet เดิม โดยต้องดาวน์โหลดโปรแกรม RD Prep มาติดตั้งเพื่อใช้งานเมื่อบันทึกหรือโอนย้ายข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะได้ไฟล์นามสกุล .rdx นำไป upload บนออนไลน์ |
ขอขยายเวลาการยื่นแบบ
เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีทำการยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกำหนดเวลา แต่มีเหตุขัดข้อง หรือเกิดข้อผิดพลาดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้การยื่นแบบและการชำระภาษีไม่สำเร็จสามารถยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษี ภายใน 7 วันทำการ นับจากวันสุดท้ายของการยื่นแบบผ่านทางอินเทอร์เน็ต พร้อมยื่นคำร้องขอขยายเวลาฯ ได้
|
1. ระบบการโอนเงินของหน่วยชำระขัดข้อง
2. ยื่นแบบภายในกำหนดและสั่งโอนเงินในวันถัดจากวันครบกำหนด แต่ธนาคารไม่ปิดระบบการโอน 3. ระบบการรับแบบหรือระบบเครือข่ายของกรมสรรพากรขัดข้อง |
พร้อมเอกสารประกอบคำร้องฯ ดังนี้
1. คำร้องขอขยายเวลาฯ และหนังสือให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูล 2. สำเนาแบบแสดงรายการที่ยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (สส.) 3. สำเนา บ.ช.35 (กรณียื่นผ่าน สส.) 4. หนังสือชี้แจงเหตุขัดข้อง (ถ้ามี) |
การแจ้งผลการพิจารณาจะแจ้งผ่านช่องทาง ดังนี้
1. แจ้งให้ผู้ประกอบการทางไปรษณีย์ (ลงทะเบียนตอบรับ) 2. แจ้งสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือ กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ |
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สามารถขอรหัสผ่านใหม่ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > คลิก “ยื่นแบบออนไลน์” หรือ “เข้าสู่ระบบ” > ระบบจะแสดงหน้าจอ Login ให้คลิก “ลืมรหัสผ่าน” > ระบุเลขประจำตัวประชาชน/เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร > ทำเครื่องหมาย ✓ลงในช่อง ☐ ฉันไม่ใช่โปรแกรมอัตโนมัติ > คลิก “ถัดไป” และดำเนินการตามขั้นตอนวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้
1) ยืนยันตัวตนด้วยเบอร์โทรศัพท์ > คลิก “ขอรหัส” โดยระบบจะทำการจัดส่งรหัส OTP ไปยังเบอร์โทรศัพท์มือถือ ให้ผู้ใช้งานระบุรหัส OTP ที่ได้รับ ภายใน 5 นาที > คลิก “ถัดไป” > ทำการกรอกรหัสผ่านใหม่และยืนยันรหัสผ่านอีกครั้ง แล้วคลิก “บันทึกรหัสผ่าน” ระบบจะแสดงข้อความ “กำหนดรหัสผ่านใหม่สำเร็จแล้ว” 2) ยืนยันตัวตนด้วยอีเมล > ให้คลิก “เลือกเส้นทางอื่น” จะพบหน้าจอยืนยันตัวตนด้วยอีเมล คลิก “ขอรหัส” โดยระบบจะทำการจัดส่งรหัส OTP ไปยังอีเมล ให้ผู้ใช้งานระบุรหัส OTP ที่ได้รับ ภายใน 5 นาที > คลิก “ถัดไป” > ทำการกรอกรหัสผ่านใหม่และยืนยันรหัสผ่านอีกครั้ง แล้วคลิก “บันทึกรหัสผ่าน” ระบบจะแสดงข้อความ “กำหนดรหัสผ่านใหม่สำเร็จแล้ว” 3) ยืนยันตัวตนด้วยคำถาม > ให้คลิก “เลือกเส้นทางอื่น” จนพบหน้าจอยืนยันตัวตนด้วยคำถาม > เลือก คำถาม-คำตอบ ที่ผู้ใช้งานเคยระบุไว้ตอนลงทะเบียน > คลิก ถัดไป > ทำการกรอกรหัสผ่านใหม่และยืนยันรหัสผ่านอีกครั้ง แล้วคลิก “บันทึกรหัสผ่าน” ระบบจะแสดงข้อความ “กำหนดรหัสผ่านใหม่สำเร็จแล้ว” 4) ยืนยันตัวตนด้วย Digital ID เพื่อขอเปลี่ยนรหัสผ่าน โดยสามารถเลือกยืนยันผ่าน NDID ThaID และเป๋าตัง |
ทำการ Login เข้าสู่ระบบยื่นแบบออนไลน์ คลิกที่ชื่อผู้เสียภาษี (มุมขวาบน) > ข้อมูลผู้เสียภาษี > คลิก “แก้ไข” ที่แถบข้อมูลผู้เสียภาษี > ระบุที่อยู่ให้เป็นปัจจุบัน และคลิก “บันทึก”
|
ทำการ Login เข้าสู่ระบบยื่นแบบออนไลน์ คลิกที่ชื่อผู้เสียภาษี (มุมขวาบน) > ข้อมูลผู้เสียภาษี > ข้อมูลเพื่อการติดต่อ คลิก “แก้ไข” > กรอกเบอร์โทรศัพท์เดิม และเบอร์โทรศัพท์ใหม่
|
ผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนเพื่อยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประสงค์จะยื่นแบบประเภทอื่น ให้ Login เข้าสู่ระบบยื่นแบบออนไลน์ คลิกที่ชื่อผู้เสียภาษี (มุมขวาบน) > ข้อมูลผู้เสียภาษี > ปรับปรุงข้อมูลผู้ใช้งาน เลือกสร้างคำขอเพิ่มสิทธิ์การใช้บริการ หลังจากนั้นระบบดำเนินการส่งเอกสาร ภ.อ.01 และข้อตกลงในการใช้งานระบบฯ ทางอีเมล พร้อมแนบเอกสารประกอบ ดังนี้
1) เอกสาร ภ.อ.01 และข้อตกลงในการใช้งานระบบที่ได้รับจากอีเมล พร้อมลงลายมือชื่อ 2) บัตรประจำตัวประชาชน/ใบสำคัญคนต่างด้าว/หนังสือเดินทาง หรือสำเนาพร้อม ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง หากมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทน ต้องจัดทำหนังสือมอบอำนาจ (ปิดอากรแสตมป์ 10 บาท) และแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ใบสำคัญคนต่างด้าว/หนังสือเดินทาง ของผู้มอบอำนาจ และบัตรประจำตัวประชาชน/ใบสำคัญคนต่างด้าว/หนังสือเดินทาง ของผู้รับมอบอำนาจ หรือสำเนาพร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง สามารถยื่นเอกสารยืนยันตัวตนภายใน 30 วัน หลังลงทะเบียนบนเว็บไซต์ ได้ 3 ช่องทาง คือ (1) นำส่งด้วยตนเอง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือ ห้องบริการข้อมูลข่าวสารกองบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ณ อาคารจอดรถและสวัสดิการกรมสรรพากร ชั้น 1 ใกล้กับ 7-Eleven (2) นำส่งเอกสารทางอีเมล โดยการสแกนเอกสารรูปแบบไฟล์ PDF ส่งทางอีเมล และต้องใช้อีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้ แล้วส่งถึงหน่วยงาน ......@rd.go.th (ตามที่ระบุในอีเมล) (3) นำส่งเอกสารด้วยการอัปโหลดไฟล์เอกสาร ภ.อ.01 และข้อตกลงการใช้งานระบบที่ได้รับจากอีเมลเท่านั้น พร้อมลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ซึ่งได้จากหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลดเอกสารได้ที่อีเมลที่ได้รับ โดยกดลิงก์ “อัปโหลดไฟล์ที่นี่” หลังจากนำส่งเอกสารแล้ว ตรวจสอบผลการยื่นคำขอได้จากอีเมล หรือเมนูสมัครสมาชิก เลือก ตรวจสอบผลการยื่นคำขอ เมื่อได้รับอนุมัติเรียบร้อยแล้ว ระบบจะส่งอีเมลพร้อมกับชื่อผู้ใช้งาน (Username) และลิงก์เพื่อกำหนดรหัสผ่าน *หมายเหตุ 1. กรณีไม่ได้นำส่งเอกสารภายใน 30 วัน จะไม่สามารถใช้งานคำขอได้ ต้องดำเนินการยื่นคำขอใหม่ 2. กรณีนำส่งเอกสารทางอีเมล จะใช้บริการได้เฉพาะการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ไม่สามารถใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ของกรมสรรพากรได้ |
เมื่ออยู่หน้าจอกรอกค่าลดหย่อน ให้ผู้มีเงินได้ คลิกคำว่า ระบุข้อมูล ของรายการลดหย่อนแล้วทำเครื่องหมาย ✓ลงในช่อง ☐ ตามรายการที่ต้องการใช้สิทธิ์
|
กรณีมีเงินได้จากหลายที่ ให้รวมเงินได้/ภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่ละรายการเป็นอันเดียวก่อนกรอกและใส่เลขผู้เสียภาษีของผู้จ่ายเงินได้ที่จ่ายเงินได้ให้มากที่สุด
|
กกรณีเป็นแบบฯ ที่ไม่มีภาษีชำระ หรือแบบฯ ที่มีเงินคืนภาษี หากยังไม่ได้ดาวน์โหลดภาพแบบแสดงรายการและใบเสร็จรับเงิน สามารถยกเลิกแบบฯ ที่ยื่นได้ภายในวันที่ยื่นแบบฯ (ไม่เกิน 24.00 น.) หากเกินเวลา 24.00 น. แล้วจะไม่สามารถยกเลิกการยื่นแบบฯ ได้ ผู้มีเงินได้ต้อง Login เข้าสู่ระบบ ทำการยื่นแบบฯ เพิ่มเติม โดยกรอกข้อมูลใหม่ทั้งหมด
|
กรณีดังกล่าว ถือว่าการยื่นแบบเสร็จสมบูรณ์ไม่สามารถยกเลิกการยื่นแบบฯ ได้ ให้ทำการยื่นแบบฯ ใหม่ โดยการ Login เข้าสู่ระบบ และบันทึกรายการข้อมูลใหม่ทั้งหมด ระบบจะแจ้งเตือนให้ทราบว่า ท่านได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 แบบปกติ ปีภาษี … ผ่าน Internet แล้ว ระบบจะแสดงหน้าจอสำหรับยื่นแบบฯ เพิ่มเติมให้ท่านอัตโนมัติ และในรายการค่าลดหย่อน ภายใต้หัวข้อภาษีที่ได้ชำระไว้แล้ว ให้กรอกจำนวนเงินภาษีที่ชำระไว้แล้ว กรณีแบบฉบับปกติมีเงินภาษีต้องชำระ หรือกรอก 0.00 กรณีแบบฉบับปกติไม่มีภาษีที่ต้องชำระหรือขอคืนเงิน
|
คลิกคำว่า ระบุข้อมูล เพื่อกรอกเงินได้ ค่าเช่า ค่าผิดสัญญาเช่าซื้อหรือซื้อขายเงินผ่อนมาตรา 40(5) กรณีมีมากกว่า 1 ราย ให้คลิกคำว่า “เพิ่ม” และกรอกข้อมูลแต่ละรายให้ครบถ้ว
|
สำหรับการผ่อนชำระภาษีงวดที่ 2 หรือ 3 ให้พิมพ์ชุดข้อมูลการชำระเงิน (Pay-in-Slip) เพื่อนำไปชำระภาษีให้ตรงกับการชำระภาษีของงวดนั้น ๆ
|
สำหรับการผ่อนชำระภาษีงวดที่ 2 และ 3 หน่วยรับชำระจะไม่หักบัญชีโดยอัตโนมัติ ให้ทำการ Login เข้าระบบยื่นแบบออนไลน์ แล้วดำเนินการตามขั้นตอนของหน่วยรับชำระนั้น ๆ
|
Login เข้าระบบยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 เลือกเมนู ชำระภาษี ระบบแสดงหน้าจอ“รายการภาษีที่ต้องชำระ” ทำเครื่องหมาย ✓ลงในช่อง ☐ หน้ารายการที่ต้องการชำระ คลิก “ชำระภาษี” ระบบแสดงหน้าจอ “รายละเอียดการชำระ” ระบบจะให้เลือกช่องทางการชำระภาษีใหม่อีกครั้ง
|
กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อมาพบว่า ข้อมูลที่แจ้งไว้นั้นไม่ถูกต้อง สามารถดำเนินการได้ดังนี้
1) กรณีเป็นแบบฯ ที่ชำระภาษีงวดแรกแล้ว ให้ทำการ Login เข้าสู่ระบบการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 อีกครั้ง โดยสามารถทำรายการใหม่ทั้งหมด ระบบจะแจ้งเตือนให้ทราบว่า ท่านเคยยื่นแบบฯ ไว้แล้วและเป็นการยื่นเพิ่มเติมให้ท่านอัตโนมัติและในการกรอกรายการค่าลดหย่อน “ภาษีที่คำนวณได้ตามแบบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 แล้วแต่กรณี (กรณียื่นแบบเพิ่มเติม)” ให้บันทึกจำนวนเงินภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระตามแบบครั้งแรก มิใช่ใส่เฉพาะจำนวนเงินภาษีงวดแรกที่ได้จ่ายไปจริง 2) กรณีเป็นแบบฯ ที่ยังไม่ได้ชำระงวดแรก ให้ Login เข้าสู่ระบบ และคลิกเมนู“ชำระภาษี” หรือ “ตรวจสอบผลการยื่นแบบ” ให้ทำการยกเลิกการยื่นแบบฯ ฉบับนั้นโดยคลิกจุด 3 จุด และเลือก “ยกเลิกแบบ” ระบบแสดงข้อความ “คุณต้องการยกเลิกแบบ ?” คลิก “ยืนยัน” ระบบแสดงสถานะ “ยกเลิกแบบ (โดยผู้ใช้)” แล้วทำการยื่นแบบฯ ใหม่ |
Login เข้าระบบยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 ดำเนินการกรอกรายการข้อมูลเงินได้และค่าลดหย่อนต่าง ๆ ตรวจสอบรายละเอียดของรายการให้ถูกต้อง เมื่อถูกต้องแล้วคลิก “ถัดไป” ระบบแสดงผลการคำนวณภาษี หากมีเงินภาษีที่ชำระไว้เกินและประสงค์ขอคืนเงินภาษี ให้เลือก “ต้องการขอคืน” หรือ “ไม่ต้องการ” ซึ่งต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง และถ้ามีข้อความให้ระบุความต้องการอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองให้เลือก “ต้องการอุดหนุน” หรือ “ไม่ต้องการ” อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วคลิก “ถัดไป” ทั้งนี้ กรมสรรพากรจะแจ้งผลการคืนเงินภาษีผ่าน SMS ตามเบอร์ที่ได้ลงทะเบียนไว้ แล้วคลิก “ยืนยันการยื่นแบบ” จึงจะถือว่าการยื่นแบบฯ ฉบับนั้นเสร็จสมบูรณ์ ให้พิมพ์แบบฯ เก็บไว้เป็นหลักฐาน
|
ได้ โดย Login เข้าสู่ระบบยื่นแบบออนไลน์ คลิกที่ชื่อผู้เสียภาษี (มุมขวาบน) > ข้อมูลผู้เสียภาษี > ข้อมูลเพื่อการติดต่อ คลิก “แก้ไข” ระบุเบอร์โทรศัพท์เดิม และเบอร์โทรศัพท์ใหม่ที่ต้องการเปลี่ยน
|
เมื่อยืนยันการยื่นแบบฯ สำเร็จแล้ว ระบบจะแสดงหน้าจอผลการยื่นแบบฯ ให้คลิก “นำส่งเอกสาร” ระบบจะแสดงหน้าจอเชื่อมต่อไปยังระบบ EDSS เพื่อให้ผู้เสียภาษีทำการ upload เอกสาร หรือหากต้องการนำส่งเอกสารภายหลังสามารถ upload ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th > เลือกเมนู e-Refund สอบถาม/ส่งเอกสารคืนภาษี > My Tax Account
|
กรณีไม่มีภาษีชำระ หรือขอคืนเงิน สามารถดาวน์โหลดภาพแบบแสดงรายการและใบเสร็จรับเงินได้ทันที กรณีที่มีภาษีชำระและชำระแล้ว รอประมวลผล 2 วันทำการ จึงสามารถดาวน์โหลดภาพแบบแสดงรายการและใบเสร็จรับเงินได้
|
สามารถใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7.0 และ Chrome เวอร์ชัน 8.0 ขึ้นไป และเบราว์เซอร์ที่รองรับระบบ New e-Filing มีดังนี้
- Internet Explorer 11 ขึ้นไป - Google Chrome 78 ขึ้นไป - Mozilla Firefox 70 ขึ้นไป - Microsoft Edge 18 ขึ้นไป - Safari 13 ขึ้นไป |
สามารถดูได้ที่ เมนู “ตรวจสอบผลการยื่นแบบ”
|
1) สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่งทั่วประเทศ
2) อินเทอร์เน็ต (e-Filing) เว็บไซต์กรมสรรพากร 3) ไปรษณีย์ลงทะเบียน เฉพาะผู้มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานครเท่านั้น 4) แอปพลิเคชัน RD Smart Tax |
แก้ไขโดย Login เข้าสู่ระบบยื่นแบบออนไลน์ (e-Filing) คลิกที่ชื่อผู้เสียภาษี (มุมขวาบน) > ข้อมูลผู้เสียภาษี > คลิก “แก้ไข” ที่แถบข้อมูลผู้เสียภาษี เพื่อแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องก่อน จึงจะสามารถเข้าใช้งานระบบอื่นได้
|
ชำระภาษี
1) ชำระภาษีผ่าน e-Payment, Internet Credit Card, ATM on Internet โดยระบุธนาคารที่ใช้บริการ ป้อนหมายเลขผู้ใช้ (User ID) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากธนาคารและดำเนินการตามขั้นตอนของธนาคารนั้น
2) ชำระภาษีช่องทางอื่น เช่น ATM, Internet Banking, Tele Banking, Phone Banking, Mobile Banking, Tax Smart Card, Counter Service (ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ, ไปรษณีย์, 7-Eleven, Tesco Lotus, True Money) ระบบจะแสดง Pay-in-Slip ซึ่งระบุรายละเอียดเลขประจำตัวประชาชน/เลขประจำตัวผู้เสียภาษี (13 หลัก), รหัสควบคุม (15 หลัก) และจำนวนภาษีที่ต้องชำระ กรุณาพิมพ์ไว้เป็นหลักฐานเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการชำระภาษีตามช่องทางที่เลือกต่อไป 3) ชำระภาษีผ่าน QR Code โดยทำรายการผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารที่รองรับการชำระด้วย QR Code 4) ชำระภาษีผ่านบัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Tax Compensation) กรมศุลกากร |
กรณีชำระด้วยเช็คต้องไปชำระ ณ ธนาคาร/สาขา ผู้ออกเช็คเท่านั้น
|
กรณีที่สามารถพิมพ์ภาพแบบ/ใบเสร็จรับเงินได้ทันที คือ กรณีภาษีที่ต้องชำระเป็นศูนย์หรือกรณีมีภาษีชำระไว้เกิน
|
สามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงินได้หลังจากชำระภาษีเรียบร้อยแล้วภายใน 2 วันทำการ
|
สถานะจะเปลี่ยนเป็นชำระสำเร็จหลังจากระบบประมวลแล้วภายใน 2 วันทำการ
|
ระบบมีการแจ้งเตือน
|
สามารถตรวจสอบได้ที่ เมนู “ตรวจสอบผลการยื่นแบบ”
|
สามารถทำรายการรวมชำระได้เลย
|
สามารถยกเลิกแบบได้ แต่หากเป็นกรณีภาษี 0 หรือภาษีชำระไว้เกิน จะไม่สามารถยกเลิกแบบได้
|
ถ้าวันสุดท้ายที่ครบเดือนตรงกับวันหยุดราชการ ระบบจะถือวันทําการถัดไป เป็นวันสุดท้ายของวันครบกำหนดเวลา
|
แนะนำให้ไปที่เมนู “ชำระภาษี” ระบบจะแสดงรายการที่ยื่นสำเร็จ สถานะรอชำระเงิน และเลือกแบบที่จะรวมชำระได้
|
1) เลือกเข้าสู่ระบบ กรอกหมายเลขผู้ใช้ และรหัสผ่าน
2) จัดการบัญชีผู้ใช้ (Profile) เลือกเมนู ข้อมูลผู้เสียภาษี 3) เลือก ขอเป็นตัวแทนชำระ กรอก รหัสผ่าน และ ยืนยันรหัสผ่าน 4) แจ้งรหัสตัวแทนชำระและรหัสผ่านของตัวแทนชำระให้กับลูกค้าทราบ 5) ให้ลูกค้านำข้อมูลตามข้อ 4. ไปกรอกในขั้นตอนชำระภาษี (ที่เมนูชำระภาษี)เพื่อให้รายการนั้นถูกส่งไปยัง PA เพื่อชำระภาษีแบบรวมรายการ *หมายเหตุ 1) รหัสตัวแทนชำระมีจำนวน 10 ตัวอักษร ขึ้นต้นด้วย PA และตัวเลข ตัวอย่าง PA00000000 แล้วคลิก ตกลง เมื่อได้รหัสตัวแทนชำระแล้ว ให้แจ้งรหัสตัวแทนชำระและรหัสผ่านของตัวแทนชำระให้กับลูกค้าหรือสาขาของท่านทราบเพื่อให้ลูกค้าหรือสาขาของท่าน นำข้อมูลที่ได้รับ ไปกรอกในขั้นตอนการชำระภาษีสามารถศึกษาจากวิดีโอแนะนำ PA 1 การขอเป็นตัวแทนชำระ (Payment Agent PA.mp4) 2) ไม่ต้องส่งเอกสารใด ๆ ให้กรมสรรพากร 3) PA ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการนำส่งเอกสารการสมัคร ภอ.01 แล้ว |
1) login เข้าระบบด้วยชื่อผู้ใช้งาน (Username) ของตัวแทนชำระ
2) ไปที่เมนูชำระภาษี 3) เลือกรายการที่ต้องการชำระ 4) กดปุ่ม “ชำระ” หรือ สามารถดู Clip VDO สาธิตการรวมรายการชำระภาษี ที่หัวข้อวิดีโอแนะนำ |
1) ลูกค้า login เข้าระบบด้วยชื่อผู้ใช้งาน (Username) ของลูกค้าเอง
2) ไปที่เมนูชำระภาษี 3) เลือกรายการที่ต้องการส่งให้ PA 4) กดปุ่ม “ส่งตัวแทนชำระ” 5) ใส่รหัสตัวแทน และ Password ของตัวแทน 6) กดปุ่ม “ตกลง”หรือ สามารถดู Clip VDO สาธิตการส่งแบบที่บันทึกแล้วให้ตัวแทนชำระ ที่หัวข้อวิดีโอแนะนำ |
หากผู้ประกอบการมี User และ Password สามารถ Login เข้าระบบและชำระเองได้
|
ผู้เสียภาษีสามารถดำเนินการได้ใน เมนู บริการอื่น ๆ > ดาวน์โหลดภาพแบบ/ใบเสร็จ (ย้อนหลัง) ทั้งนี้ท่านสามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงินย้อนหลังได้ ตั้งแต่ มกราคม 2561 ถึง กันยายน 2564
|
ในใบ Pay In Slip จะมี QR Code สำหรับสแกนจ่ายทางโทรศัพท์ได้
|
ชำระได้ ทั้งนี้ระบบยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ตจะทำการดึงแบบที่ได้ยกเลิกแล้วมาประมวลผลกับเงินที่ได้รับชำระ และปรับสถานะให้เป็นแบบที่ยื่นสำเร็จ
|
TA ย่อมาจาก Tax Agent สำนักงานบัญชีตัวแทนที่ได้รับอนุญาตจากกรมสรรพากรPA ย่อมาจาก Payment Agent ตัวแทนชำระ คือ บริการ “ชำระภาษีแบบรวมรายการ”ซึ่งกรมสรรพากรเคยให้บริการแก่ผู้เสียภาษีที่มี User ID ขึ้นต้นด้วย TA + Running Number 6 หลัก เช่น TA000008 แต่ปัจจุบันระบบ New e-Filing เปลี่ยนเป็นตัวแทนชำระ (Payment Agent : PA) ซึ่งมีรหัสตัวแทนขึ้นต้นด้วย PA + Running Number 8 หลัก เช่น PA00000008 หากต้องการเป็น “ตัวแทนชำระ (PA)” ต้องดำเนินการดังนี้
1) ผ่านขั้นตอนการขอหมายเลขผู้ใช้ และรหัสผ่านใหม่เพื่อเข้าใช้ระบบ New e-Filing เรียบร้อยแล้ว 2) จัดการบัญชีผู้ใช้ (Profile) โดยขอเป็น “ตัวแทนชำระ” |
สำนักงานบัญชีตัวแทน (Tax Agent : TA) จะต้องทำการสร้างหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่านใหม่เพื่อใช้งานระบบ New e-Filing โดยไม่ต้องสมัครใหม่ จากนั้นระบบจะผูกข้อมูลลูกค้าของ Tax Agent ซึ่งได้แจ้งไว้กับกรมสรรพากรตามแบบ ต.ท.02 ให้โดยอัตโนมัติและ Tax Agent สามารถเข้าสู่ระบบยื่นแบบด้วยชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง แต่ยื่นแบบแทนลูกค้ารวมถึงชำระภาษีของลูกค้าโดยชำระแบบรวมรายการได้
|
จะต้อง Login ด้วย User ของสำนักงานบัญชี โดยสำนักงานบัญชีต้องเป็นผู้ยื่นแบบให้กับลูกค้าจึงจะเห็นรายการของลูกค้า และสามารถรวมชำระได้
|
สแกน QR Code ที่มุมขวาด้านล่างของใบเสร็จรับเงินที่ต้องการตรวจสอบ จะปรากฏข้อมูลรายละเอียดเพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ ดังนี้
1) หมายเลขอ้างอิงการยื่นแบบ 2) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3) ชื่อผู้เสียภาษี 4) ประเภทแบบ 5) เดือน/ปีภาษี 6) วันที่ชำระเงิน/นำส่ง 7) เลขที่ใบเสร็จเงิน 8) ประเภทใบเสร็จรับเงิน 9) จำนวนเงิน 10) รหัสการตรวจสอบ และวันที่ตรวจสอบ |
ตรวจสอบผลการยื่นแบบ
สามารถใช้การค้นหาขั้นสูง ที่เมนู “ตรวจสอบผลการยื่นแบบ”
|
ขอคัดแบบ
กรณีที่ยื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถขอคัดแบบฯ ผ่านระบบ e-Filing ย้อนหลังได้ 2 ปี
|
เมื่อ login เข้าสู่ระบบแล้ว ผู้เสียภาษีสามารถขอคัดแบบฯได้ที่เมนู บริการอื่นๆ > ยื่นคำขอคัดรับรองแบบ
โดยรับเป็นเอกสาร พร้อมเจ้าหน้าที่ลงนามรับรองในเอกสาร สามารถเลือกสถานที่ รับแบบฯ ได้ 2 แห่ง ได้แก่ - ห้องบริการข้อมูลข่าวสาร อาคารจอดรถ กรมสรรพากร ซอยพหลโยธิน 7 กรุงเทพฯ - สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ |
การขอคัดแบบโดยยื่นคำขอคัดรับรองแบบ มีค่าธรรมเนียมการคัดรับรองแบบ แผ่นละ 6 บาทโดยเสียค่าธรรมเนียมในวันที่มารับแบบฯ
|
กรณียื่นคำขอคัดรับรองแบบผ่านระบบ e-Filing สามารถขอคัดได้ทั้งแบบแสดงรายการภาษีและใบแนบ
(กรณีแบบมีใบแนบ) โดยต้องระบุความต้องการขอรับใบแนบในขั้นตอนการยื่นคำขอคัดแบบด้วยซึ่งมีรูปแบบให้เลือกรับใบแนบ ดังนี้ • ทั้งหมด หมายถึง รับใบแนบทั้งชุด • ระบุเงื่อนไข หมายถึง ให้เลือกรายการในใบแนบโดยให้ระบุได้ 2 เงื่อนไขพร้อมกัน หรืออย่างน้อย 1 เงื่อนไข ดังนี้ ➢ หมายเลขหน้า ➢ ผู้มีเงินได้ - เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร- ชื่อ - นามสกุล (ไม่ต้องระบุคำนำหน้าชื่อ) - ชื่อนิติบุคคล (ไม่ต้องระบุคำนำหน้าชื่อ) |
User ที่ได้สิทธิ สามารถยื่นคำขอคัดรับรองแบบฯ พร้อมใบแนบ โดยขอคัดได้เฉพาะแบบฉบับที่ User เป็นผู้ยื่นแบบฯ เท่านั้น
|
สามารถขอยกเลิกคำขอคัดแบบได้ ภายในวันที่ยื่นคำขอผ่านระบบเท่านั้น ไม่สามารถยกเลิกข้ามวันได้
|
สามารถมารับแบบฯ ได้ในวันทำการถัดไป กรณีพ้น 15 วัน นับจากวันที่ระบบแจ้งนัดรับ จะระงับการขอคัดแบบฯ ในครั้งต่อไป เมื่อรับแบบที่ค้างรับเรียบร้อยแล้ว จึงสามารถขอคัดแบบฯ ได้ใหม่ในวันทำการถัดไป
|
1. คำขอคัดแบบแสดงรายการภาษี ผ่านระบบ e-Filing ที่พิมพ์จากระบบ
2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง (Passport) 3. กรณีมอบอำนาจ 3.1 นิติบุคคล - หนังสือมอบอำนาจ โดยกรรมการผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคลลงลายมือชื่อ (ติดอากรแสตมป์10 บาท)และประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี) - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ 3.2 บุคคลธรรมดา - หนังสือมอบอำนาจ โดยผู้เป็นเจ้าของข้อมูลลงลายมือชื่อ (ติดอากรแสตมป์ 10 บาท) - บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ หมายเหตุ กรณีเจ้าของข้อมูลเป็นต่างด้าวใช้สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) |
อื่นๆ
ระบบจะมีการตัดออกจากระบบ หากไม่ได้ใช้งานเกิน 30 นาที
|
ระบบไม่มีการเก็บข้อมูลไว้ให้ ดังนั้นผู้เสียภาษีควรกด “บันทึกร่าง” เป็นระยะ ๆ
|
ระบบรองรับ Windows 7 Service Pack 2 ขึ้นไป
|
ทำการกดปุ่ม Ctrl + Shift + r เพื่อทำการล้างค่าใน Cache ของ Web Browser
|
Browser ที่เป็น Chrome, Safari (บนเครื่อง Mac) และ Microsoft Edge
|
ทีมงานมีการเก็บข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หาก User มีข้อมูลให้ เช่น Version ของเครื่อง Macหรือ Version ของ Safari ที่มีปัญหา ทีมงานก็จะได้นำข้อมูลตรงนี้มาวิเคราะห์เป็นกรณีไป
|
1) สำนักงานบัญชีตัวแทนต้องยื่นแบบคำขอเพิ่ม/ลดจำนวนผู้มีหน้าที่เสียภาษีของสำนักงานบัญชีตัวแทน (ต.ท.04) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ที่กองมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากร กรมสรรพากร เพื่อขอเพิ่มรายลูกค้า หลังจากได้รับอนุมัติแล้ว รายชื่อลูกค้าจะปรากฏในระบบ New e-Filing อัตโนมัติ สำนักงานบัญชีตัวแทน (Tax Agent) ก็จะสามารถยื่นแบบให้ลูกค้าได้
2) หากไม่แจ้งเพิ่มรายชื่อลูกค้าสำนักงานบัญชีตัวแทน (Tax Agent) จะไม่สามารถยื่นแบบผ่านออนไลน์ให้ลูกค้าในนามสำนักงานบัญชีตัวแทน (Tax Agent) ดังนั้น ลูกค้าต้องยื่นแบบด้วยชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) ในนามของลูกค้าเอง แต่ลูกค้าสามารถแจ้งรายการให้สำนักงานบัญชีตัวแทน (Tax Agent) ชำระได้ ถ้าสำนักงานบัญชีตัวแทน (Tax Agent) รายนั้นเป็นตัวแทนชำระ (Payment Agent) ด้วย |